วิเคราะห์และตัดสินใจเรื่องวัตถุประสงค์การกู้เงินให้ชัดเจน แบงก์จะปล่อยกู้ก็อยู่ในกรอบ 3 เรื่องหลัก
- กู้เงิน เพื่อ ไปลงทุน /ขยาย / ปรับปรุงกิจการ อันนี้ ต้อง ชัดเจนว่า จะไปซื้อ ที่ดิน ที่ตั้ง กิจการ ต้องมี การก่อสร้าง อาคาร หรือ โรงงาน หรือ จะรวมซื้อ เครื่องจักรหรือ อุปกรณ์ ในธุรกิจ ด้วย ซึ่งจริงๆ แล้ว แบงก์ ทุกแห่ง จะชอบ ปล่อยกู้แบบนี้ ชอบเอาทรัพย์สิน ในกิจการ มาเป็น หลักประกัน มัน อุ่นใจดี และ ประเด็น ที่มัก จะถกเถียง ไม่จบ อ มูลค่า ลงทุน รวมควร จะสักเท่าไหร่ แน่นอน ฝ่ายผู้กู้ ก็อยากได้ สวยงาม อลังการ เผื่ออนาคต แต่ ในแง่แบงก์ จะดู ความ เป็นไปได้ ว่า เหมาะสม กับ ขนาดธุรกิจหรือไม่ อาจต้อง เถียงกัน หลายยก เพื่อหา จุดเหมาะสม ร่วมกัน ดีที่สุด ก็ควร เริ่มการ ลงทุน ที่ไม่เกินตัว อย่า แบกหนี้ เยอะ ค่อยๆ โตดีกว่า
- กู้เงิน เพื่อ ใช้เป็น เงินทุน หมุนเวียน ข้อนี้ อาจเป็น ส่วนประกอบ พร้อมกับ ข้อ 1 หรือ จะยื่น ขอเดี่ยวๆ ต่างหากก็ได้ แต่วิธี คำนวณ ของเรา กับ ของแบงก์ อาจไม่ เหมือนกัน เขาจะให้ แต่เฉพาะ รายการ ที่ ต้องซื้อมา เป็นวัตถุดิบหรือ ส่วนประกอบการ ใน การผลิต หรือ บริการ เท่านั้น และ จำนวนที่ เหมาะสม ไม่ยอมให้ ซื้อมา สต๊อกเยอะๆ ไม่ฟัง ข้ออ้าง ว่า ถ้าซื้อ ในปริมาณมากๆ จะทำให้ ต้นทุน ถูกลง แบงก์ กลัวว่า สต๊อกบวม ขาย ไม่ออก มากกว่า ส่วนเรื่อง เครดิตเทอม ที่เป็น องค์ประกอบ การคำนวณ ก็ว่าตาม ระบบธุรกิจ ข้อนี้ จะตบตา แบงก์ โดยการ ขอเยอะๆ แล้วเหลือเงิน ไปซื้อโน่น นี่ นั่น หรือ เอาไป ลงทุน อย่างอื่น ผิดวัตถุประสงค์ ยุคนี้ ก็ทำไม่ได้ แล้ว เข้มข้น กว่าเดิม
- กู้เงินเ พื่อ รีไฟแนนซ์ หรือ ย้ายหนี้ อันนี้ ถ้า เป็นหนี้ ธุรกิจ ก็ยากสุดๆ ต้อง พิสูจน์ ธุรกิจ ว่าดีจริงๆ เพราะ แบงก์กลัว ย้ายมาแล้ว เป็นหนี้เสีย กลายเป็น เอาหนี้ คุณภาพ ไม่ดี มาเป็นภาระ และ ถ้า จะคิดกู้ เพื่อไป ใช้หนี้ นอกระบบ หรือ ใช้หนี้ บัตรเครดิตหรือ เอาไป กลบหนี้ ที่มี ดอกเบี้ย สูงกว่านั้น อันนี้ แทบ จะไม่มี แบงก์ไหน เล่นด้วยเลย